วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Cloud computing คือ

Tag: 
เนื่องจากทางมหิดล ได้เปิดหลักสูตรระยะยาว (4 ภาคเรียน ระยะเวลา 48 สัปดาห์) เป็นหลักสูตร Cloud specialist โดยที่หลักสูตรนี้จะเน้นไปที่ Cloud Infra โดยมีผู้เรียนทั้งหมด 15 คน จากองค์กรต่างๆ ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ SIPA ส่งไป (อันนี้ต้องขอบคุณที่สำนักงานด้วยครับ ที่ให้โอกาส) ผมก็เลยคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดต่อให้กับเพื่อนๆ ที่สนใจ อีกทั้งยังได้เป็นการจดบันทึกปในตัว
ในเทอมแรกก็จะเป็นวิชา Cloud 101 และ Cloud 102 ผมเพิ่งเรียนสัปดาห์แรกไป ซึ่งก็เป็นเรื่องของ Fundamental (แหงอยู่แล้ว)

นิยามของ Cloud

ยังคงเป็นที่ถกเถียงของหลายๆ ท่าน และบางท่านก็ยังงงๆ หรือบางท่านก็ฉวยโอกาสในกระแสของ Cloud computing มาเคลมแต้มให้บริการของตนเองที่ใช้งานผ่าน Internet ได้ ว่าเป็น Cloud เสียเลย
นิยามที่ได้มาจากสัปดาห์แรกที่ไปเรียนมา Cloud computing จะต้อง
  • ยืดหยุ่น ย่อ/ขยายได้
  • แบ่งปันทรัพย์ยากร เพื่อใช้งานร่วมกันได้ (อันนี้ผมชอบมาก เพราะช่วยลดโลกร้อน)
  • เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต บริหารจัดการได้จากหลายอุปกรณ์
  • ทำเองได้ คือ ลูกค้าติดต่อกับผู้ให้บริการน้อยที่สุด อยากได้อะไรทำเอง คลิกเอง
  • สามารถ Track ได้ ว่าลูกค้าเรียกใช้ทรัพยากรอะไรใบระบบบ้าง ซึ่งจะต้องเอาข้อมูลส่วนนี้ไปคิดเงิน

Cloud มีกี่ประเภท

อันนี้หลายๆ ท่านรู้อยู่แล้ว
  • IaaS = Infrastructure as a Service คือ ให้บริการในระดับของ Infra structure
  • PaaS = Platform as a Service คือ ให้บริการระดับแพลตฟอร์ม เช่น Google App Engine
  • SaaS = Software as a Service ให้บริการซอฟต์แวร์ เช่น บริการต่างๆ ของ Google (Docs, Mail)
ภาพอธิบาย Cloud service ประเภทต่าง
WxHfxMd

ผมค่อนข้างชอบภาพอันนี้ เพราะมันอธิบาย Cloud ในประเภทต่างๆ ได้ชัดเจนดี

การย่อขยาย (Scaling)

การขยายความสามารถของ Cloud จะมี 2 แบบด้วยกันคือ
  • Horizontal scaling การขยายในแนวนอน ง่ายๆ คือ เพิ่มปริมาณ เช่น เพิ่มเครื่อง เพิ่มฮาร์ดดิสก์
  • Vertical scaling การขยายในแนวตั้ง คือ เพิ่มพลัง เช่น เพิ่มแรม เพิ่ม CPU เพิ่ม Core CPU เป็นต้น

ปัญหาของ Cloud ในปัจจุบัน

จากที่เรารู้จัก Cloud มา เหมือนว่ามันจะมีแต่ข้อดี แต่จริงๆ แล้วมันก็ยังมีปัญหาใหญ่อันนึงในตอนนี้คือ ขาดความเป็น Open Standard อันนี้ถ้าใช้งานในระดับ Infra จะนึกไม่ออก แต่ถ้าคุณพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้งาน PaaS คุณจะไม่สามารถย้ายค่ายได้อย่างง่ายดายนัก (คือ Vendor lock-in นั่นล่ะครับ) เช่น ถ้าคุณพัฒนาซอฟต์แวร์บน PaaS ของ Amazon คุณจะต้องเรียกใช้ API ของ Amazon แล้วถ้าวันหนึ่งคุณอยากย้ายไปใช้ Google App Engine แทน ซอฟต์แวร์ที่คุณพัฒนาโดยเรียกใช้ API ของ Amazon ก็จะไม่สามารถทำงานบน App Engine ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น